Skip to content
เสริมสุขภาวะที่เป็นธรรม สร้างพลังแรงงานนอกระบบ

เมื่อหนุ่มสาวคืนถิ่นสูู่มาตุภูมิ เขาจะสร้างสรรค์ตัวตนและเป็นพลังให้กับชุมชนได้อย่างไร

เมื่อหนุ่มสาวคืนถิ่นสูู่มาตุภูมิ เขาจะสร้างสรรค์ตัวตนและเป็นพลังให้กับชุมชนได้อย่างไร

ผมกฤษฎา บุญชัย สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ได้รับเชิญให้มาร่วมงานประชุมสาธารณะเรื่อง “ข้อเสนอนโยบายแรงงานคืนถิ่น” ที่วิทยาลัยการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโดยภาคีเครือข่ายแรงงานคืนถิ่น และมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ผ่านสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนาร่วมขับเคลื่อน จะจบโครงการ 3 ปีในวันนี้

น้อง ๆ คนรุ่นใหม่ที่กลับคืนถิ่นได้พัฒนากิจการเป็นผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจสังคม ทดลองทำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และร่วมพัฒนาข้อเสนอนโยบายร่วมการออกมา เช่น

– นโยบายการลงทะเบียนและจัดทำฐานข้อมูลแรงงานคืนถิ่นเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลระดับชาติ
– นโยบายการจัดตั้งกองทุนมีแรงงานคืนถิ่นระดับจังหวัดและระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
– นโยบายการพัฒนากลไกการจับคู่คนกับงานและคนกับแหล่งทุน
– นโยบายการพัฒนาทักษะแรงงานคืนถิ่น

นอกเหนือจากการมีข้อเสนอที่มาจากประสบการณ์ทดลองด้วยชีวิตจริงๆ ของพวกเขา

สิ่งที่ผมสัมผัสได้คือพลังแห่งความหวังความกระตือรือร้นที่แม่จะรู้ว่ามีอุปสรรคความท้าทายอีกมากแต่น้องๆ มีความสุขใจที่จะสร้างสรรค์กิจการของตนเองโดยไม่ตกเป็นลูกจ้างที่ต้องถูกขูดรีด

น้อง ๆ มีความอุ่นใจที่มีเพื่อนร่วมทางมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน โดยมีพี่เลี้ยงโดยมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และพี่ ๆ NGOs ที่สวนซุมแซง มหาสารคาม

และน้อง ๆ มีความภูมิใจที่ได้กลับมาช่วยเหลือพ่อแม่ มาสิบสานวิถีบรรพชน สร้างความภูมิใจให้กับพ่อแม่ ที่เป็นผู้นำรุ่นใหม่จะทำให้ชุมชนกลับมาเข้มแข็ง

ข้อเสนอทางนโยบายของน้อง ๆ จะได้รับการตอบสนองมากน้อยแค่ไหน เป็นเรื่องที่จะต้องร่วมกันต่อสู้ผลักดัน

แต่พลังใจที่เชื่อมโยงกันทั้งในกลุ่มน้อง ๆ เชื่อมโยงกับชุมชนขึ้นโยงกับภาคี กำลังก่อรูปเป็นพลังขับเคลื่อนที่สร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่นให้มั่นคง มีศักดิ์สิทธ์

ไม่ว่าน้องจะล้มเหลวกี่ครั้ง จะมีโอกาสสำเร็จมากน้อยแค่ไหน มั่นใจว่าน้อง ๆ จะไม่ยอมแพ้แน่นอน

เรื่องราวของน้อง จะเป็นบทเรียนของขบวนการแรงงานยุคใหม่ วิถีคนรุ่นใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงสังคมใหม่ให้เกิดขึ้นได้

Share the Post: